ปก

ปก
ผู้ผลิต จำหน่ายและให้บริการหลังการขาย เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, Dynamic UPS, Static UPC, Unit Substation, Frequency Converter, Solar Cell System

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

EuroMax Unit Substation

Piller’s Unit Substation is designed to three compartment are medium voltage compartment , transformer compartment and low voltage compartment. This Unit Substation is pass type test according to IEC 62271-202 standard from PEHLA , SATS and ABB test institute. EuroMax Unit Substation is one of the best unit substation with high efficiency , high reliability and high quality to meet all your requirements.





วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บริษัท พิลเล่อร์ (ประเทศไทย) จำกัด มอบชุดโซล่าเซลล์ ให้แก่สำนักสงฆ์ท่าไม้ลาย

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2558 บริษัท พิลเล่อร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มอบชุดโซล่าเซลล์ ให้แก่สำนักสงฆ์ท่าไม้ลาย เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจของสงฆ์หรือพีธีกรรมยามกลางคืน 











TEMCA FORUM & EXHIBITION 2015 PATTAYA

บริษัท พิลเล่อร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมงาน TEMCA FORUM & EXHIBITION 2015 PATTAYA ด้วยความสำเร็จอย่างงดงาม













วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

สัมนาสามัคคีพิชิตการขาย ครั้งที่ 5

บริษัท พิลเล่อร์ (ประเทศไทย) จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือรวม 6 บริษัทเข้าร่วมกิจกรรมสามัคคีพิชิตการขาย ครั้งที่ 5 10-11 มี.ค. 2554  ณ. ศศิ คันทรี รีสอร์ท อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี  ด้วยความอบอุ่น






วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เหมาะสมอย่างมืออาชีพ






การเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เหมาะสมอย่างมืออาชีพ
                      
           การเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ถูกต้องและเหมาะสมนั้นโดยปกติเป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบและที่ปรึกษาในงานด้านวิศวกรรมระบบ แต่เมื่อใดก็ตามหากเราต้องการจัดหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเองหรือไม่มีผู้ออกแบบและที่ปรึกษาในเบื้องต้น        ผู้เลือกจะต้องทราบเสียก่อนว่าความต้องการใช้ประโยชน์อะไรจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยส่วนมากแล้วมักจะใช้เป็นเครื่องสำรองไฟฟ้าเมื่อไฟฟ้าหลักหรือการไฟฟ้าส่วนกลางนั้นขาดหายไป หรืออาจมีบางความต้องการที่ต้องการใช้เป็นกำลังหลักเช่นตามเกาะตามภูเขาหรือสถานที่พักตากอากาศที่ไม่มีไฟฟ้า บางครั้งอาจต้องการใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการลดค่าใช้จ่ายจากไฟฟ้าหลัก หรือตลอดจนในเพื่อเพิ่มเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าหลักที่ใช้ในขบวนการผลิตเพื่อผลผลิตทางอุตสาหกรรม จากความต้องการเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลายประเภทสนองความต้องการ ของการใช้งานแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้ให้ถูกต้องจึงถือว่ามีความสำคัญมากทั้งในด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม

การเลือกชนิดตามกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
            เมื่อทราบถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการใช้ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแล้ว สิ่งต่อไปที่จะต้องทราบและทำความเข้าใจให้ชัดเจน คือ ชนิดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีให้เลือกในปัจจุบันตามประเภทกำลังเพื่อความเหมาะสมกับความต้องการเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีประเภทดังนี้
1.      เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากำลังสำรอง (Standby Generator Type)
2.      เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากำลังสำรองต่อเนื่อง (Continuous Generator Type)
3.      เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากำลังหลัก (Base Generator Type)

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง (Standby Generator Type)
            หมายถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เป็นกำลังสำรองเมื่อไฟฟ้าหลักขาดหายไปเป็นเวลาไม่นานนัก เรียกได้ว่ามีไว้สำหรับใช้เมื่อมีความจำเป็นหรือกรณีฉุกเฉิน ดังนั้นความสำคัญของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจึงอยู่ที่ความพร้อมใช้งานเป็นหลัก และจะต้องสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอตามที่ออกแบบไว้ด้วย เครื่องประเภทนี้มักใช้สำหรับอาคารสูงเพื่อใช้สำหรับไฟฟ้าส่วนกลาง โรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการผลผลิตอย่างต่อเนื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดนี้จะต้องตอบสนองความต้องการอย่างรวดเร็ว และเที่ยงตรงแม่นยำ ข้อมูลด้านเทคนิค เครื่องประเภทนี้จะมีการคำนวณเพื่อออกแบบผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดใช้งานเต็มกำลังของเครื่องยนต์เพื่อใช้ขับเคลื่อนชุดกำเนิดไฟฟ้า ดังนั้นเครื่องประเภทนี้จะไม่สามารถจ่ายเกินกำลังได้ เช่น 10% (Overload 10%) ผู้ออกแบบควรระมัดระวังเงื่อนไขเหล่านี้ ชั่วโมงการทำงานจะต้องไม่เกินพิกัดของผู้ผลิตเครื่องยนต์ กำหนดไว้เช่นบางผู้ผลิตกำหนดไว้ไม่เกิน 150 หรือ 200 ชั่วโมงต่อปี การใช้ไม่เกินจึงจะถือว่าอยู่ในเงื่อนไขของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง การเดินเครื่องแต่ละครั้งจะต้องอยู่ในข้อกำหนดของผู้ผลิตด้วย เช่นในรอบเดินเครื่อง 12 ชั่วโมงต้องหยุด 1 ชั่วโมง หากการใช้งาน เกินช้อกำหนดแสดงว่าเราเลือกประเภทของเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นไม่เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน ผู้ออกแบบหรือผู้เลือกจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้ เพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณาของการเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดนี้ จะต้องประกอบด้วยตัวตรวจจับไฟฟ้าหลัก (AMF) และชุดสลับจ่ายกระแสไฟฟ้า (ATS)
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองต่อเนื่อง (Continuous Generator Type)
            หมายถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เป็นกำลังสำรอง แต่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องเมื่อไฟฟ้าหลักขาดหมายไป การเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดนี้จะต้องเข้าใจว่าเราเลือกเครื่องเพื่อสำรองแต่ขณะเดียวกันเราต้องเลือกเครื่องที่มีขีดความสามารถสูงขึ้น ต้องมีเหตุผลประกอบ เช่นเคยมีไฟฟ้าหลักดับหรือขาดหายเป็นเวลานานกว่า 12 ชั่วโมง หรือ ภาระของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประกอบด้วยโหลด ที่มีขนาดกระแสเริ่มต้นสูง ดังนั้นการเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทแรกจึงไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงจึงควรเลือกประเภทที่ 2 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทนี้สามารถแก้ข้อจำกัดของเครื่องประเภทแรกได้ แต่ราคาจะสูงกว่าประเภทแรก เนื่องจากการออกแบบจะต้องเลือกเครื่องยนต์ที่เป็นชุดขับเคลื่อนต้องมีขนาดกำลังหรือแรงม้าที่มากพอ รับภาระได้ 10% มาตรฐาน IEC และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเนื่องจากการทำงานของเครื่องกำเนิดประเภทนี้เป็นลักษณะกึ่งการใช้งานหนัก (Heavy duty) จะต้องพิจารณาตัวประกอบอื่นอีก เช่น ความคงทนของฉนวน และอุณหภูมิการใช้งานของชุดกำเนิดไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากำลังหลัก (Base load Generator)
            เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทนี้ เป็นเครื่องที่ใช้เป็นกำลังไฟฟ้าหลัก สามารถใช้อย่างต่อเนื่องโดยไม่จำกัดชั่วโมงในการทำงาน พิกัดกำลังของเครื่องจะต้องรับภาระเป็น 70% ของเครื่องชนิด Standby และ 60% ของเครื่อง Continuous  Type ดังนั้นหากมีความจำเป็นจะต้องเลือกเครื่องประเภทนี้แล้วจะต้องแจ้งให้ผู้ออกแบบทราบล่วงหน้า เพื่อจะได้นำข้อมูลไปประกอบการออกแบบให้ถูกต้อง เครื่องประเภทนี้มักจะใช้ในเกาะ หรือสถานที่ไฟฟ้าชั่วคราว เครื่องชนิดนี้ถึงแม้จะไม่จำกัดชั่วโมงการทำงานก็ตาม หากถึงกำหนดเวลาการทำการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็จำเป็นต้องหยุดเพื่อทำการบำรุงรักษา ดังนั้นการเลือกจะต้องคำนึงถึงข้อสำคัญนี้ด้วย ซึ่งอาจจะต้องเลือกซื้อถึง 2 เครื่องเพื่อใช้ในเวลาที่ต้องหยุดเพื่อการจ่ายกำลังไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ
            โดยทั่วไปการเลือกเครื่องลักษณะนี้จะเลือกเครื่องประเภทรอบต่ำแต่ราคาจะสูงตามไปด้วย เป็นการเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามชนิดและประเภทของการใช้งาน

การเลือกตามประเภทของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
            นอกจากการเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามกำลังตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เครื่องกำเนิดไฟฟ้ายังมีการออกแบบให้เหมาะสมกับสถานที่และสิ่งแวดล้อม ประเภทของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้มีการพัฒนาออกแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละพื้นที่ใช้งาน ดังนี้
-        เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดเปลือยอยู่กับที่ (Bare Generator Type)
-        เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดเก็บเสียง (Sound Proof Type)
-        เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดเคลื่อนที่ หรือเอนกประสงค์ (Mobile Generator)

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดเปลือยอยู่กับที่ (Bare Generator Type)



            เป็นชนิดที่ส่วนใหญ่นิยมใช้กันเนื่องจากเป็นเครื่องประเภทพื้นฐาน มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นชนิดเปลือยและมีชุดควบคุมติดอยู่กับชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เนื่องจากเครื่องมีขนาดใหญ่และนักหนักมาก ดังนั้นไม่นิยมเคลื่อนย้ายกัน หากเมื่อนำมาติดตั้งแล้วมีเสียงดังก็จะทำห้องเก็บเสียงอีกชั้นหนึ่ง การเลือกเครื่องประเภทนี้มักจะมีห้องเป็นสัดส่วนและมีการออกแบบไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว การติดตั้งเครื่องจะเป็นไปตามการเลือกขนาดกำลัง ซึ่งเป็นไปตามการเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทแรก

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิด ตู้ครอบเก็บเสียง (Canopied and Sound Proof)



                        เป็นชนิดที่ต้องการย้ายพื้นที่การใช้งานบ่อย ๆ หรือต้องการเก็บเสียง หรือในพื้นที่ที่ไม่มีห้องสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ชนิดนี้ส่วนประกอบที่สำคัญทั้งหมดจะถูกออกแบบมาให้อยู่ในตู้ครอบทั้งหมด เช่น ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ชุดควบคุมสตาร์ทโดยอัตโนมัติ (AMF) ชุดโอนย้ายกระแสไฟฟ้า (ATS)
           
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดเคลื่อนย้าย (Mobile Gen and Trailer)



            ในการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าบางทีต้องการใช้ในสถานที่ชั่วคราว เช่นงานพิธีการต่าง ๆ งานกู้ภัย งานเฉพาะการเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดเคลื่อนที่ได้จะเหมาะสมกว่าเพราะใช้งานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น จากนั้นก็สามารถนำไปใช้งานในสถานที่อื่น ๆ ได้อีกด้วย เครื่องชนิดนี้มีทั้งชนิดลากจูง (Trailer) และแบบบรรทุกบนรถยนต์สามารถพร้อมเคลื่อนที่และใช้งานได้เลย (Mobile generator)

            จากข้างต้นมีข้อสรุป 2 ประเด็น คือ ผู้เลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องทราบประเภทกำลังไฟฟ้าของการใช้งานของตนเอง และประการที่สองต้องรู้จักรูปแบบหรือชนิดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงจะสามารถเลือกได้อย่างชาญฉลาด และเหมาะสม แต่ก็ยังไม่พอเพื่อให้การเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพของการใช้งาน ควรจะต้องทราบเงื่อนไขดังต่อไปนี้คือ การเลือกขนาดกำลังให้เหมาะสมกับภาระ (Load) ที่ตอ้งการ (โดยปกติจะเป็นหน้าที่ของที่ปรึกษา หรือวิศวกรระบบไฟฟ้า)

            ภาระ (Load) ทางไฟฟ้า หมายถึง ภาระที่จะต้องถูกต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับประเภทของกำลังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เราเลือกใช้ เช่นเลือกใช้ประเภทสำรอง (Standby) จะต้องมีการคัดสรร เลือกเฉพาะภาระที่จำเป็นเท่านั้น หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะฉุกเฉิน (Emergency Load) ภาระที่เหลือเป็นภาระที่สามารยอมให้ไม่มีไฟฟ้าได้ในกรณีเดียวกันการเลือกประเภท Continuous Rate หรือ Prime Rate แต่ใช้ในหน้าที่ไฟฟ้าสำรอง แต่จะแตกต่างกันเมือเลือกเป็นประเภท กำลังไฟฟ้าหลัก (Base Load Rate) เพราะภาระมีระดับเดียวคือต้องจ่ายไฟฟ้าตลอดเวลา ทั้งสองประเภทจะมีหลักการคิดคำนวณเหมือนกัน คือ
1.      เลือกขนาดภาระ โดยอ่านจากแผ่นป้ายของเครื่องจักรกลไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ โดยมีหน่วยเป็นวัตต์ (w), กิโลวัตต์ (kW) หรือกระแส (A)
2.      อีกประการที่สำคัญคือ Pf. (ตัวประกอบกำลังทางไฟฟ้า) เป็นมุมทางไฟฟ้า (COS ¢)
3.      แรงดันไฟฟ้าที่ใช้งาน มีหน่วยเป็นโวลท์ (V.)

            นำค่าที่อ่านได้นั้นมารวมกันจะได้จำนวนภาระที่มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ที่ต้องการ บางครังอาจจะประสพปัญหา ค่าที่ได้เป็นภาระที่จำนวนเฟสไม่เท่ากัน เช่น 1 เฟสบาง หรือ 3 เฟสบ้าง ซึ่งจะต้องนำสูตรทางคณิตศาสตร์เข้าช่วย หรือแม้อาจจะพบในรูปแบบของกระแส ก็สามารถใช้สูตรอย่างง่ายเดียวกันกันนี้ คำนวณออกมาเป็นภาระที่ต้องการไฟฟ้าได้
            ทั้งหมดนี้จะอยู่ในรูปของสูตรทางไฟฟ้าคือP = sqrt(3)UI cos¢/1000 หน่วยคือ kW.
            เมื่อได้จำนวนภาระ (Load) ทั้งหมดแล้วเราจะต้องนำจำนวนภาระมาพิจารณาว่า ภาระที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นเท่าไร และมีขนาดแตกต่างจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเพียงไร เพื่อพิจารณาขนาดของภาระก้าวกระโดด (Load Step) ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของชุดขับเคลื่อนและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เลือก
            เท่านี้เองเราก็สามารถนำขนาดที่ได้และวัตถุประสงค์ของการใช้งานไปเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างที่ต้องการและเหมาะสมทั้งการใช้กำลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยไม่ถูกชาวบ้านข้างเคียงร้องเรียนได้อย่างสบาย โดยการใช้หลักการต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด
            เงื่อนไขที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษหากภาระมีขนาดใหญ่และมีกระแสเริ่มต้นสูง ยังจะต้องพิจารณาประเด็นอื่นด้วยเช่นการยอมรับของแรงดันตก (Voltage Dip) เมื่อ Load Step และ Power Factor ที่เปลี่ยนไป และ Inrush Current ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการเวลาการกลับเข้าสู่สภาวะปกติ (Recovery Time) ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยการพิจารณาขนาดอย่างละเอียดอาจจะต้องพึ่งที่ปรึกษาหรือวิศวกรไฟฟ้า เนื่องจากเป็นเครื่องขนาดเล็ก ไม่ใช่โรงต้นกำลังขนาดใหญ่จึงต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ให้ละเอียดมากขึ้น

                  ข้อมูลเพิ่มเติม  http://www.piller.co.th











Thai Maxwell Electric and other Maxwell Group companies jointly exhibit in Metalex 2010 with groundbreaking success!

 ไทยแมกซ์เวลอิเลคทริค และกลุ่มบริษัทในเครือ แมกซ์เวลกรุ๊ป ได้ร่วมงานแสดงสินค้า เมทัลเล็กซ์ 2010 ด้วยความสำเร็จอย่างงดงาม